ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง คุณชมพู่อายุ 42 ปีแม่บ้านลูกหนึ่ง ได้มารับการตรวจร่างกายประจำปี ผลการตรวจร่างกายพบความดันโลหิต 132...
ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง คุณชมพู่อายุ 42 ปีแม่บ้านลูกหนึ่ง ได้มารับการตรวจร่างกายประจำปี ผลการตรวจร่างกายพบความดันโลหิต 132/80 มิลลิเมตรปรอท ระดับน้ำตาลในเลือด 110 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
หมอ : คุณชมพู่ครับ จากผลการตรวจร่างกาย คุณกำลังจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานนะครับ
ชมพู่ : หรือคะ แล้วเดี๊คุณแม่บ้านทำอย่างไรให้สุขภาพดียนต้องทำอย่างไรบ้างคะ อันตรายมากไหมคะ ลูกยังเล็กอยู่เลยค่ะ
หมอ : ตอนนี้ยังไม่มีอันตรายครับ เพียงแค่ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอก็สามารถลดความดันโลหิตและลดระดับน้ำตาลในเลือดได้แล้วครับ
ชมพู่ : อย่างนั้นสบายมากค่ะ เพราะหลายปีมานี้เดี๊ยนต้องตื่นแต่เช้า ทำกับข้าว ขับรถส่งลูกไปโรงเรียน ต่อด้วยกวาดบ้าน ถูบ้าน ซักผ้า ไปรับลูก กลับมาบ้านทำกับข้าว และอื่นๆก็หมดวันพอดีค่ะ เท่านี้ก็น่าจะเป็นการออกกำลังกายทั้งวันและสม่ำเสมอแล้วนะคะ
หมอ : ครับ!?!
หมอ : คุณชมพู่ครับ จากผลการตรวจร่างกาย คุณกำลังจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานนะครับ
ชมพู่ : หรือคะ แล้วเดี๊คุณแม่บ้านทำอย่างไรให้สุขภาพดียนต้องทำอย่างไรบ้างคะ อันตรายมากไหมคะ ลูกยังเล็กอยู่เลยค่ะ
หมอ : ตอนนี้ยังไม่มีอันตรายครับ เพียงแค่ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอก็สามารถลดความดันโลหิตและลดระดับน้ำตาลในเลือดได้แล้วครับ
ชมพู่ : อย่างนั้นสบายมากค่ะ เพราะหลายปีมานี้เดี๊ยนต้องตื่นแต่เช้า ทำกับข้าว ขับรถส่งลูกไปโรงเรียน ต่อด้วยกวาดบ้าน ถูบ้าน ซักผ้า ไปรับลูก กลับมาบ้านทำกับข้าว และอื่นๆก็หมดวันพอดีค่ะ เท่านี้ก็น่าจะเป็นการออกกำลังกายทั้งวันและสม่ำเสมอแล้วนะคะ
หมอ : ครับ!?!
นี่เป็นตัวอย่างชีวิตจริงของผู้หญิงไทยทั้งกลุ่มแม่บ้านและคนทำงานท่าน ซึ่งจะมีความคิดเช่นนี้ว่า ทำงานบ้านเยอะแล้วหรือออกไปทำงานนอกบ้านก็เหนื่อยแล้ว พอแล้ว ความเหนื่อยในทุกๆด้านส่งผลให้ร่างกายล้าและเข้าใจว่าใช้พลังงานไปเยอะแล้วอยากพักผ่อน จึงไม่คิดที่จะไปออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายทนทานต่อความอ่อนล้าได้เพิ่มขึ้น
หลายครั้งหมออยากถามครับว่า หากทำงานบ้านมากแล้ว ทำไมแม่บ้านหลายท่านจึงมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นทุกเดือน (จริงๆ) รวมถึงหลายท่านเริ่มเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากแต่งงานไปนานนานเวลาไปไหนกับคุณพ่อบ้านเคยมีคนมองฉันด้วยสายตาแปลกๆไหมครับ ประมาณสงสัยว่า เอ๊ะ!! คุณพี่มากับน้องชายเหรอคะเนี่ย
เพื่อให้คุณแม่บ้านมีความฟิตทั้งระบบหัวใจและหลอดเลือด กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ รวมถึงลดความเสี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจขาดเลือด และภาวะซึมเศร้า คุณออกกำลังกายหรือมีกิจวัตรประจำวันตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ ดังนี้
1. ผู้มีอายุ 18 ถึง 64 ปี ควรออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมทางกายให้รู้สึกเหนื่อยระดับปานกลาง เช่น เดินเร็ว(ขณะเดินสามารถพูดคุยได้โดยไม่รู้สึกเหนื่อย) สะสมให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 ถึง 300 นาที หากออกกำลังกายที่มีความหนัก เช่น วิ่ง ขี้จักรยานหรือว่ายน้ำ (ประเมินโดยขณะออกกำลังกายจะไม่สามารถพูดได้เกิน 2 ถึง 3 คำ ถ้าพูดมากกว่านี้จะรู้สึกเหนื่อย) ควรปฏิบัติอย่างน้อยสัปดาห์ละ 75 ถึง 150 นาที
2. ในแต่ละครั้งควรออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมต่อเนื่องอย่างน้อย 10 นาที
3. เพิ่มการฝึกกำลังกล้ามเนื้อใหญ่ เช่น ลำตัว ขา แขน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วัน ตัวอย่างการออกกำลังกาย เช่น ดึงยางยืด ยกขวดน้ำ เป็นต้น
หลายครั้งหมออยากถามครับว่า หากทำงานบ้านมากแล้ว ทำไมแม่บ้านหลายท่านจึงมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นทุกเดือน (จริงๆ) รวมถึงหลายท่านเริ่มเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากแต่งงานไปนานนานเวลาไปไหนกับคุณพ่อบ้านเคยมีคนมองฉันด้วยสายตาแปลกๆไหมครับ ประมาณสงสัยว่า เอ๊ะ!! คุณพี่มากับน้องชายเหรอคะเนี่ย
เพื่อให้คุณแม่บ้านมีความฟิตทั้งระบบหัวใจและหลอดเลือด กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ รวมถึงลดความเสี่ยงการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจขาดเลือด และภาวะซึมเศร้า คุณออกกำลังกายหรือมีกิจวัตรประจำวันตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ ดังนี้
1. ผู้มีอายุ 18 ถึง 64 ปี ควรออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมทางกายให้รู้สึกเหนื่อยระดับปานกลาง เช่น เดินเร็ว(ขณะเดินสามารถพูดคุยได้โดยไม่รู้สึกเหนื่อย) สะสมให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 ถึง 300 นาที หากออกกำลังกายที่มีความหนัก เช่น วิ่ง ขี้จักรยานหรือว่ายน้ำ (ประเมินโดยขณะออกกำลังกายจะไม่สามารถพูดได้เกิน 2 ถึง 3 คำ ถ้าพูดมากกว่านี้จะรู้สึกเหนื่อย) ควรปฏิบัติอย่างน้อยสัปดาห์ละ 75 ถึง 150 นาที
2. ในแต่ละครั้งควรออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมต่อเนื่องอย่างน้อย 10 นาที
3. เพิ่มการฝึกกำลังกล้ามเนื้อใหญ่ เช่น ลำตัว ขา แขน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วัน ตัวอย่างการออกกำลังกาย เช่น ดึงยางยืด ยกขวดน้ำ เป็นต้น
จากข้อแนะนำข้างต้น คุณแม่บ้านสามารถปฏิบัติได้มากน้อยเพียงใด
งานวิจัยจากอังกฤษ ในปี 2553 มีการสอบถามประชากรประมาณ 4000 คน อายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป เกี่ยวกับการออกกำลังกายและกิจวัตรประจำวัน โดยเน้นการถามถึงกิจกรรมที่ทำต่อเนื่องถึง 10 นาที และกิจกรรมนั้นนั้นทำให้รู้สึกเหนื่อยมากขึ้นและหายใจแรงขึ้น (ร่างกายใช้พลังงานระดับปานกลางถึงหนัก) พบว่า เพียงร้อยละ 40 ของประชากรตัวอย่างมีกิจวัตรประจำวันออกกำลังกายได้ตามเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ
สำหรับกลุ่มแม่บ้าน ห่างไปทำงานบ้านมากพอ พบว่าจำนวนคนที่ออกกำลังกายได้ตามเกณฑ์จะเหลือเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น
มีข้อสังเกตเพิ่มเติมเรื่องการประเมินตัวเองในการทำงานบ้าน คุณแม่บ้านที่บอกว่าทำงานหนักแล้ว แต่จากการวัดสัดส่วนร่างกายกลับไม่ได้สอดคล้องกับการทำงานหนัก เพราะหากทำงานหนักมากพอ รูปร่างควรจะสมส่วน แต่ผลที่ได้กลับตรงข้าม คือยิ่งอ้วนขึ้น หรือว่าทำไปสักพักเหงื่อออกแล้วอยากกินอะไรหวานหวานชื่นใจเสียหน่อย ไม่ตบรางวัลด้วยขนมหวานเล็กน้อย เข้าทำนองทำงาน 10 นาทีกิน 5 นาทีแล้วอย่างนี้มันจะดีได้อย่างไร
อีกเหตุผล 1 สำหรับคนอวบระยะสุดท้ายเปรียบเทียบกับคนที่ผอมกว่าคือ เวลาทำงานชนิดเดียวกัน เช่น ถูบ้าน ปัดกวาด เช็ดทำความสะอาด มากจนเหนื่อยง่ายกว่า เหตุเพราะตัวใหญ่ เคลื่อนไหวไม่สะดวกถ้าคนตัวเล็ก จริงประเมินการใช้พลังงานของตัวเองว่าเป็นการทำงานหนัก ซึ่งแท้จริงเนื้องานอาจไม่ได้มากนัก แต่เหนื่อยแล้ว
ในการทำงานบ้านหรือทำงานในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่แล้วมักออกแรงในลักษณะเกร็งกล้ามเนื้อเล็กและเกร็งนิ่งๆ เช่น การจับ กำไม้ถูพื้น จับผ้าขี้ริ้วในการเช็ดทำความสะอาด การใช้คอมพิวเตอร์ หรือขับรถเป็นเวลานาน ผลที่ได้คือ เมื่อทำไปสักพักจะมีอาการกล้ามเนื้อล้า เราจะรู้สึกอีกเช่นกันว่าได้ใช้พลังงานอย่างมากแล้ว
แต่ที่จริงถ้าเป็นเช่นนั้นไม่ การไหลเวียนเลือด การเผาผลาญพลังงานขณะที่กล้ามเนื้อเกร็งนิ่ง หากเทียบกับรถยนตร์เปรียบเสมือนเป็นการเผาผลาญที่ไม่สมบูรณ์ เกิดสารตกค้างหรือสารอนุมูลอิสระในร่างกาย อาจมีผลทำให้ร่างกายเสื่อมในระยะยาว ทั้งหมดเป็นเพียงตัวอย่างที่นำมาให้พิจารณาและถามคุณแม่บ้านว่าถ้ารู้สึกแบบนี้หรือไม่
ก่อนจบมีคำถามสำหรับคุณผู้หญิงครับว่า ใน 1 วันถ้าใช้เวลานั่งวันละกี่ชั่วโมง ทั้งการนั่งดูโทรทัศน์ ทำงาน ขับรถการนั่งทุกรูปแบบ มีข้อมูลมาให้ท่านดูเล่นๆ ดังนี้
กลุ่มผู้หญิงที่นั่งมากกว่าวันละ 7 ชั่วโมง และกลุ่มผู้หญิงที่ขยับร่างกายน้อย ยืนน้อย เดินน้อย มีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าถึง 2 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้หญิงที่นั่งน้อยกว่า วันละ 4 ชั่วโมง ร่วมกับ 1 กิจกรรมทางกายเพียงพอตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกข้างต้น และหากเคยนั่งมากกว่าวันละ 7 ชั่วโมง ร่วมกับขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวน้อยโอกาสป่วยด้วยโรคซึมเศร้าจะเพิ่มเป็น 3 เท่า
อย่าลืมเพิ่มการออกกำลังกายบ้างนะคะ เพราะที่ทำแต่งงานในชื่อประจำวันนั้นอ่านไม่เพียงพอ หาออกกำลังกายสม่ำเสมอ โอกาสเป็นโรคเอ๋อ (ซึมเศร้า) ก็จะต่ำ
ที่สำคัญ คนจะได้ไม่ทักท่านว่าเดินกับน้องชายหรือคะคุณพี่!!
_____________________________________________________
Data from: : ThaiJobsGov