การเลือกสถานที่เลี้ยงปลาช่อน ควรจะพิจารณาเป็นข้อๆดังนี้ 1. ใกล้แหล่งน้ำจืด ที่สามารถใช้ได้ตลอดปี 2. น้ำไม่เป็นกรดหรือด่างมากจนเกินไป 3. ที่ด...
การเลือกสถานที่เลี้ยงปลาช่อน
ควรจะพิจารณาเป็นข้อๆดังนี้
1. ใกล้แหล่งน้ำจืด ที่สามารถใช้ได้ตลอดปี
2. น้ำไม่เป็นกรดหรือด่างมากจนเกินไป
3. ที่ดอน น้ำไม่ท่วม และเป็นที่ราบ
4. ดินเหนียว หรือปนทราย
5. คมนาคมสะดวก
1. ใกล้แหล่งน้ำจืด ที่สามารถใช้ได้ตลอดปี
2. น้ำไม่เป็นกรดหรือด่างมากจนเกินไป
3. ที่ดอน น้ำไม่ท่วม และเป็นที่ราบ
4. ดินเหนียว หรือปนทราย
5. คมนาคมสะดวก
วิธีเพาะพันธุ์ปลาช่อน
1. การเพาะเลียนแบบธรรมชาติ
เป็นวิธีการเพาะพันธุ์ที่เลียนแบบธรรมชาติ ด้วยการเพาะในบ่อดิน ขนาดประมาณ 0.5-1.0 ไร่ และใช้วิธีจัดสภาพบ่อให้คล้ายคลึงกับธรรมชาติ เช่น ปล่อยให้หญ้าหรือพืชน้ำขึ้นริมฝั่ง มีการปล่อยผักบุ้ง หรือพืชน้ำอื่นที่เหมาะสม อัตราการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ 1:1ให้อาหารโดยใช้ปลาเป็ดผสมรำหรืออาหารสำเร็จรูป
1. การเพาะเลียนแบบธรรมชาติ
เป็นวิธีการเพาะพันธุ์ที่เลียนแบบธรรมชาติ ด้วยการเพาะในบ่อดิน ขนาดประมาณ 0.5-1.0 ไร่ และใช้วิธีจัดสภาพบ่อให้คล้ายคลึงกับธรรมชาติ เช่น ปล่อยให้หญ้าหรือพืชน้ำขึ้นริมฝั่ง มีการปล่อยผักบุ้ง หรือพืชน้ำอื่นที่เหมาะสม อัตราการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ 1:1ให้อาหารโดยใช้ปลาเป็ดผสมรำหรืออาหารสำเร็จรูป
2. การเพาะด้วยการผสมเทียม
เป็นวิธีการเพาะโดยการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ และมักเพาะในบ่อซีเมนต์เพาะพันธุ์ปลา ด้วยการฉีดฮอร์โมนเร่งให้แม่ปลาวางไข่และรีดไข่มาผสมกับน้ำเชื้อที่รีดได้จากตัวผู้ หรือหลังการฉีดฮอร์โมนทั้งตัวเมีย และตัวผู้แล้วปล่อยให้ผสมกันเองตามธรรมชาติ ฮอร์โมนที่ใช้ ได้แก่ LHRHa หรือ LRH-a และใช้ร่วมกับ domperidone และไข่ปลาช่อนที่ผสมแล้วจะมีสีเหลือง ไข่จะลอยน้ำ และจะใช้เวลาฟักประมาณ 30-35 ชั่วโมง หลังการวางไข่
เป็นวิธีการเพาะโดยการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ และมักเพาะในบ่อซีเมนต์เพาะพันธุ์ปลา ด้วยการฉีดฮอร์โมนเร่งให้แม่ปลาวางไข่และรีดไข่มาผสมกับน้ำเชื้อที่รีดได้จากตัวผู้ หรือหลังการฉีดฮอร์โมนทั้งตัวเมีย และตัวผู้แล้วปล่อยให้ผสมกันเองตามธรรมชาติ ฮอร์โมนที่ใช้ ได้แก่ LHRHa หรือ LRH-a และใช้ร่วมกับ domperidone และไข่ปลาช่อนที่ผสมแล้วจะมีสีเหลือง ไข่จะลอยน้ำ และจะใช้เวลาฟักประมาณ 30-35 ชั่วโมง หลังการวางไข่
การอนุบาลลูกปลาช่อน
การอนุบาลลูกปลาช่อนจะเริ่มให้อาหารภายหลังฟักออกจากไข่ประมาณวันที่ 4-5 หรือจนกว่าถุงไข่แดงจะยุบ โดยใช้ไข่แดงต้ม บดละลายน้ำ และกรองผ่านผ้าขาวบางให้ลูกปลากินวันละ 3 ครั้ง หลังจากนั้นประมาณวันที่ 6-8 ค่อยให้ไรแดงจนถึงอายุ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้น ค่อยเริ่มให้อาหารเสริม เช่น รำละเอียด ปลาป่น และเนื้อปลาสดสับ ทั้งนี้ ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำทุก 1-2 วัน ในปริมาณน้ำที่ร้อยละ 50 ของทั้งหมด
การอนุบาลลูกปลาช่อนจะเริ่มให้อาหารภายหลังฟักออกจากไข่ประมาณวันที่ 4-5 หรือจนกว่าถุงไข่แดงจะยุบ โดยใช้ไข่แดงต้ม บดละลายน้ำ และกรองผ่านผ้าขาวบางให้ลูกปลากินวันละ 3 ครั้ง หลังจากนั้นประมาณวันที่ 6-8 ค่อยให้ไรแดงจนถึงอายุ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้น ค่อยเริ่มให้อาหารเสริม เช่น รำละเอียด ปลาป่น และเนื้อปลาสดสับ ทั้งนี้ ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำทุก 1-2 วัน ในปริมาณน้ำที่ร้อยละ 50 ของทั้งหมด
การเตรียมบ่อ
1. พื้นที่ใช้เลี้ยง ควรมีขนาดไม่ต่ำกว่าครึ่งไร่ โดยการขุดบ่อลึก 1.5 – 2 เมตร และทำคันบ่อสูงประมาณ 1 เมตร
2. หากเป็นบ่อเก่า ให้สูบน้ำ และเก็บปลาออกให้หมด หรือโรยโล่ติ๊นเพื่อกำจัดปลาที่หลงเหลือ พร้อมหว่านโรยด้วยปูนขาว อัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่ และตากบ่อนาน 7-10 วัน
3. ให้กั้นรั้วตาข่ายหรือไนล่อนบริเวณคันบ่อเพื่อป้องกันปลาช่อนกระโดดหนี
4. ปล่อยน้ำเข้าหรือรอฝนตกให้มีระดับน้ำ สูงประมาณ 20-30 ซม. แล้วค่อยใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 40-80 กิโลกรัม/ไร่
5. ปล่อยน้ำเข้าหรือให้ฝนตกจนมีระดับน้ำสูงประมาณ 0.5-1 เมตร แล้วค่อยปล่อยลูกปลาช่อน
1. พื้นที่ใช้เลี้ยง ควรมีขนาดไม่ต่ำกว่าครึ่งไร่ โดยการขุดบ่อลึก 1.5 – 2 เมตร และทำคันบ่อสูงประมาณ 1 เมตร
2. หากเป็นบ่อเก่า ให้สูบน้ำ และเก็บปลาออกให้หมด หรือโรยโล่ติ๊นเพื่อกำจัดปลาที่หลงเหลือ พร้อมหว่านโรยด้วยปูนขาว อัตรา 100 กิโลกรัม/ไร่ และตากบ่อนาน 7-10 วัน
3. ให้กั้นรั้วตาข่ายหรือไนล่อนบริเวณคันบ่อเพื่อป้องกันปลาช่อนกระโดดหนี
4. ปล่อยน้ำเข้าหรือรอฝนตกให้มีระดับน้ำ สูงประมาณ 20-30 ซม. แล้วค่อยใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 40-80 กิโลกรัม/ไร่
5. ปล่อยน้ำเข้าหรือให้ฝนตกจนมีระดับน้ำสูงประมาณ 0.5-1 เมตร แล้วค่อยปล่อยลูกปลาช่อน
การเลี้ยงในบ่อ
หลังจากอนุบาลลูกปลาช่อนให้ได้ขนาดความยาว 6-8 เซนติเมตร ก็สามารถนำมาปล่อยเลี้ยงในบ่อได้ อัตราการปล่อยที่ 40-50 ตัว/ตารางเมตร หรือประมาณ 65,000-80,000 ตัว/ไร่ โดยให้ใช้ฟอร์มาลีนเติมลงในบ่อ ที่ความเข้มข้นประมาณ 30 ppm (3 ลิตร/น้ำ 100 ลบ.ม.) ทั้งนี้ ในวันที่ที่ปล่อยลูกปลาไม่ต้องให้อาหาร และให้เริ่มให้อาหารในวันรุ่งขึ้น
หลังจากอนุบาลลูกปลาช่อนให้ได้ขนาดความยาว 6-8 เซนติเมตร ก็สามารถนำมาปล่อยเลี้ยงในบ่อได้ อัตราการปล่อยที่ 40-50 ตัว/ตารางเมตร หรือประมาณ 65,000-80,000 ตัว/ไร่ โดยให้ใช้ฟอร์มาลีนเติมลงในบ่อ ที่ความเข้มข้นประมาณ 30 ppm (3 ลิตร/น้ำ 100 ลบ.ม.) ทั้งนี้ ในวันที่ที่ปล่อยลูกปลาไม่ต้องให้อาหาร และให้เริ่มให้อาหารในวันรุ่งขึ้น
อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาช่อน ได้แก่ ปลาเป็ดผสมรำหรือหัวอาหาร ในอัตราส่วนร้อยละ 70:30 ปริมาณการให้ที่ร้อยละ 4-5 ของน้ำหนักตัวปลา โดยการหว่านหรือวางอาหารบนตะแกรง และวางให้ลอยใต้ผิวน้ำ 2-3 เซนติเมตร ให้วางในหลายจุด
เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 5-6 เดือน ปลาช่อนจะมีน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม/ตัว หรือมากว่า หากต้องการจับจำหน่ายให้งดอาหาร 1-2 วัน ก่อนจับ การจับจะใช้วิธีการสูบน้ำออก และตีอวน แล้วค่อยสูบน้ำออกให้แห้ง และค่อยตามจับออกให้หมด
โรค และการป้องกัน
1. โรคที่เกิดจากปรสิตที่มักพบ ได้แก่ เห็บระฆัง ปลิงใส หนอนสมอ ที่มักเห็นเกาะติดลำตัวเพื่อดูดกินเลือด หากมีจำนวนมากจะทำให้เกล็ดบริเวณนั้นหลุด ลำตัวผอม หัวโต และมีรอยแผลเป็นจุดตามลำตัว แก้ไขโดยการฉีดพ่นด้วยดิปเทอร์เรกซ์ 800 กรัม/ไร่ ปล่อยไว้ 2-3 วัน แล้วถ่ายน้ำใหม่ หรือนำมาแช่ในสารละลายฟอร์มาลีน 150-200 ซีซี/น้ำ 1,000 ลิตร ทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน
1. โรคที่เกิดจากปรสิตที่มักพบ ได้แก่ เห็บระฆัง ปลิงใส หนอนสมอ ที่มักเห็นเกาะติดลำตัวเพื่อดูดกินเลือด หากมีจำนวนมากจะทำให้เกล็ดบริเวณนั้นหลุด ลำตัวผอม หัวโต และมีรอยแผลเป็นจุดตามลำตัว แก้ไขโดยการฉีดพ่นด้วยดิปเทอร์เรกซ์ 800 กรัม/ไร่ ปล่อยไว้ 2-3 วัน แล้วถ่ายน้ำใหม่ หรือนำมาแช่ในสารละลายฟอร์มาลีน 150-200 ซีซี/น้ำ 1,000 ลิตร ทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน
2. โรคท้องบวมหรือเกล็ดหลุด หรือเป็นแผลตามลำตัว ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แก้ไขโดยให้ใช้เทอรามัยซิน 2 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม
3. โรคพยาธิภายใน เช่น พยาธิหัวหนาม ทำให้ปลามีลำตัวผอม และกินอาหารลดลง แก้ไขโดยใช้ยาถ่ายพยาธิผสมในอาหาร
ความแตกต่างระหว่างปลาช่อนเลี้ยงกับปลาช่อนธรรมชาติ
• ปลาช่อนนา หรือ ปลาช่อนตามธรรมชาติ จะมีสีเกล็ดได้หลายสี ขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำที่อาศัย แต่ปกติปลาช่อนนาจะมีสีเกล็ดที่เป็นลายหรือมีสีเกล็ดค่อนข้างจางเหลือง ต่างจากปลาช่อนเลี้ยงที่มักมีสีเกล็ดดำสนิทไปทั่วลำตัว
• ปลาช่อนนา หรือ ปลาช่อนตามธรรมชาติ จะมีสีเกล็ดได้หลายสี ขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำที่อาศัย แต่ปกติปลาช่อนนาจะมีสีเกล็ดที่เป็นลายหรือมีสีเกล็ดค่อนข้างจางเหลือง ต่างจากปลาช่อนเลี้ยงที่มักมีสีเกล็ดดำสนิทไปทั่วลำตัว
• รูปร่างปลาช่อนนามักหัวค่อนข้างใหญ่ และยาว ปากค่อนข้างแบน ส่วนปลาช่อนเลี้ยงมักมีลำตัวอวบอ้วนได้สัดส่วน
• ปลาช่อนนา เมื่อผ่าท้องมักไม่พบไขมันติดลำไส้ ส่วนปลาช่อนเลี้ยงจะพบมีไขมันติดบริเวณลำไส้มาก
วิธีจับปลาช่อนตามธรรมชาติ
• การใส่เบ็ด โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เบ็ด (แท่งไม้ไผ่รัดด้วยเชือกค้องเบ็ด) ด้วยการใช้เหยื่อ เช่น ไส้เดือน ลูกปู ลูกอ๊อด เป็นต้น วิธีนี้มักใช้จับในฤดูหลังการทำนาจนถึงช่วงก่อนเก็บเกี่ยวข้าว
• การใส่เบ็ด โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เบ็ด (แท่งไม้ไผ่รัดด้วยเชือกค้องเบ็ด) ด้วยการใช้เหยื่อ เช่น ไส้เดือน ลูกปู ลูกอ๊อด เป็นต้น วิธีนี้มักใช้จับในฤดูหลังการทำนาจนถึงช่วงก่อนเก็บเกี่ยวข้าว
• การใส่หลุมดัก โดยการใช้ไห หรือ ถังน้ำขนาดเล็กที่มีปากแคบ ฝังบริเวณคันนาที่เชื่อมติดกับบ่อน้ำ ด้วยการขุดให้เป็นร่องแคบๆ และฝังไหบริเวณตรงกลางร่อง หรือค่อนมาทางบ่อน้ำ และโอบทาด้วยโคลนตามร่องให้เปียกชุ่ม วิธีนี้จะใช้ได้ผลในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวข้าวที่ระดับน้ำในคันนาเริ่มลด ทำให้ปลาช่อนอพยพปืนป่ายกลับเข้ามาอาศัยในแหล่งเก็บน้ำ ก่อนที่จะตกลงในไหหรือถังดัก
• การใ้ช้แห มักใช้จับได้ตลอดฤดูกาล แต่นิยมใช้มากในช่วงฤดูแล้งที่ระดับลดลงมาก ทำให้จับได้ง่าย
ข้อมูลจาก กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข